23 กันยายน 2559

: ไดออกซิน สารก่อมะเร็งภัยใกล้ตัวเรา

ไดออกซิน สารก่อมะเร็งภัยใกล้ตัวเรา
                                                                                                    นางสาวอรวรรณ  ใจบุญ
                                                                                                      นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)

ประชาชนคนไทยโดยส่วนใหญ่จะเผาขยะในเขตที่อยู่อาศัยซึ่งพบได้มากตามเขตพื้นที่ชนบทซึ่งขยะจะถูกนำไปเผาในพื้นที่นอกบ้าน เช่น ในสวน บ่อขยะชุมชน ซึ่งขยะที่เผาจะประกอบไปด้วย เศษใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า กระดาษ พลาสติก เป็นต้น ขยะบางประเภทสามารถ คัดแยกขยะนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำไปจำหน่ายยังสถานที่รับซื้อขยะ   แต่หากนำขยะเหล่านี้ไปเผาทำลายต้องทำให้ถูกหลักสุขาภิบาลซึ่งการเผาแบบสุขาภิบาล คือ การเผาด้วยเตาเผาที่มีความร้อนสูง ขยะที่เข้าเตาเผาควรมีสภาพค่อนข้างแห้งเผาไหม้ได้และประชาชนส่วนใหญ่จะเผาขยะกลางแจ้งซึ่งเป็นการเผาขยะแบบไม่ถูกสุขาภิบาล ทำให้เกิดมลภาวะอันเกิดจากการเผาไหม้และเกิดอันตรายต่อร่างกายและสิ่งที่อันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ สารเคมีบางชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งทำให้เราได้รับสารชนิดนี้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งสารเคมีชนิดนี้เรียกว่า  ไดออกซิน (Dioxins)
ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับสารชนิดนี้ว่ามีความอันตรายอย่างไร
ไดออกซิน (Dioxins)  คือ  สารอันตรายที่ได้รับพิจารณาเป็นสารอันตรายชั้นที่ 1 ซึ่งหมายถึงสารที่มีความเป็นพิษสูงที่สุด และเป็นสารก่อมะเร็ง สารไดออกซินมีผลต่อสุขภาพและพันธุกรรม มนุษย์และเป็นสารที่สลายตัวยากมีความคงทนยาวนานในสิ่งแวดล้อม สามารถปนเปื้อน สู่บรรยากาศได้ สารนี้สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ระยะทางไกลมาก จากอากาศสู่ดิน จากดินสู่น้ำ หรือจากดินสู่พืชและเข้าสู่ร่างกายมนุษย์
แหล่งกำเนิดสารไดออกซิน เป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ตั้งใจผลิต จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถือเป็นผลผลิตพลอยได้ที่เกิดจากหลายกระบวนการและแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม เช่น
 - อุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 800 องศาเซลเซียส แต่จำเป็นต้องมีการลดอุณหภูมิเป็นบางช่วง ซึ่งการลดอุณหภูมิลงจะทำให้เกิดสารไดออกซินได้ เช่น เตาเผาขยะประเภทต่างๆ เตาหลอมโลหะ เป็นต้น
- แหล่งกำเนิดจากการเผาไหม้ตามธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้ป่า เป็นต้น
- อุตสาหกรรมและกิจกรรมที่มีการเผาไหม้ที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 800 องศาเซลเซียส เช่น เตาเผากากของเสียอันตรายและเตาขยะชุมชน การเผาขยะตามบ้านเรือน การเผาหญ้าในที่โล่งซึ่งในพื้นที่นั้นมีการใช้สารฆ่าแมลงที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ
- กระบวนการทางชีวภาพ เช่น การหมักและการย่อยสลายบริเวณแหล่งกักเก็บสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่สะสมอยู่เป็นเวลานาน
- การผลิตที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น โรงงานผลิตสารเคมี กระบวนการฟอกย้อม การฟอกกระดาษ การผลิตพลาสติก( PVC)




ความเป็นพิษของสารไดออกซิน พบได้ทั้งในดิน น้ำ อากาศ และปนเปื้อนในอาหารซึ่งเป็นสารที่สลายตัวได้ยากจึงตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเป็นพิษได้หลายรูปแบบ ดังนี้
ความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแบบ
- ทำให้น้ำหนักตัวลดลง เกิดความผิดปกติที่ตับ เซลล์ตับตาย และเกิดอาการโรคผิวหนังอักเสบ
ความเป็นพิษต่อระบบประสาท
- มีอาการกล้ามเนื้อเสื่อม สูญเสียความรับรู้บนเส้นประสาท
ความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
- ทำให้เกิดโรคผิวหนังที่เรียกว่า “คลอเอคเน” (Chlorance)  คือมีผิวหนังขึ้นเป็นสิวหัวดำเกิดถุงสีน้ำตาลอมเหลืองที่ผิวหนังบริเวณหลังใบหู ขอบตา หลัง ไหล่และอวัยวะสืบพันธุ์ 



สารกระตุ้น
- เป็นสารกระตุ้นการก่อมะเร็งหรือเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ
ความเป็นพิษต่อตัวอ่อน
- ทำให้ตัวอ่อนหรือทารกผิดปกติและตายก่อนครบกำหนด ทำให้ทารกมีโครงสร้างผิดปกติหรือทำให้การทำงานของอวัยวะและเนื้อเยื่อบางชนิดผิดปกติ
ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
- ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระดับภูมิคุ้มกันบางชนิด
          ในประเทศไทยยังไม่เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรงจากผลกระทบของสารไดออกซินมาก่อนซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงนั้นเคยเกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น ประเทศอิตาลี ซึ่งเกิดอุบัติเหตุในอดีตจากการระเบิดของโรงงานผลิตสารเคมี ทําใหคนงานไดรับผลกระทบ คือ ตรวจพบมะเร็งที่ตับ เนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเอ็นไซมในตับ ผิวหนังมีอักเสบลักษณะเปนสิวหัวดํามีอาการระบบภูมิคุมกัน บกพรอง โดยมีผลกระทบตอสุขภาพในระยะยาว ซึ่งมีผูไดรับผลตอเนื่องนานถึง 20 ป
          การตรวจวัดสารไดออกซินนั้นสามารถอ้างอิงได้หลายวิธี ซึ่งวิธีมาตรฐานเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวอย่างประเภทต่างๆ เช่น ตัวอย่างอากาศจากปล่อง ตัวอย่างในบรรยากาศ ตัวอย่างน้ำทิ้ง ตัวอย่างชีวภาพ ตัวอย่างอาหาร ฯลฯ นอกจากนั้นแต่ละประเทศก็จะมีมาตรฐานการวิเคราะห์ด้วยวิธีต่างๆกัน เช่น EPA1613, EPA8290หรือEPA23 TO - 09 EN1948(พล สาเททอง, 2549) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1.      วิธีสกัดโดยเทคนิคต่างๆ เช่น Soxhlet extraction, microwave extraction, Solid phase extraction(SPE), Liquid-Liquid extraction(LLE), Accelerated Solvent  extraction(ASE), Pressurized Solvent Extraction(PSE)
2.      วิธีการกำจัดสิ่งสกปรกออกจากตัวอย่าง (clean up) เช่น Gel Permeation Chromatography, Mulyti- layer Chromatography, Basic alumina Chromatography, Acid alumina Chromatography, Actived carbon Chromatography, Sulfuric acid treatment
3.      การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ (Quality control and Quality assurance) เช่น Control chart, Solvent Blank, Sample blank, C12Labelled standards, Column clean up spike, Recovery test, Standard Reference Material(SRM), Certify Reference Material (CRM)
4.      การวืเคราะห์ทางปริมาณ (Quantitative analysis) เช่น High Resolution Gas Chromatography-High Resolution Mass Spectrophotometer (HRGC/HRMS), Isotope ratio dilution
5.      การรายงานผล (report) เป็นพิโคกรัม (pictogram’pg) คือ 1 pg = 10-12 กรัม ,Toxicity Equivalent by weight of 2,3,7,8-TCDD (TEQ), I-TEF (International-Toxicity Equipvalent factors), TEQ (Total concentration, I-TEF (International – Toxicity Equivalent factors)
แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีห้องปฏิบัติการในประเทศไทย ที่สามารถจะวิเคราะห์ได้แต่ต้องส่งตัวอย่างไป วิเคราะห์ยังต่างประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จนในปี พ.ศ. 2551 จึงมีมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้จัดตั้งอาคารห้องปฏิบัติการไดออกซิน ขึ้นในประเทศไทย ห้องปฏิบัติการไดออกซิน (Dioxin Laboratory) เป็นห้องปฏิบัติการในสังกัด ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งตั้งอยู่ภายในเทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สำหรับห้องปฏิบัติการไดออกซินของไทยนั้นถือเป็นห้องปฏิบัติการ  ไดออกซินของภาครัฐแห่งเดียวในเอเชียที่ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมและอาหารได้ครบถ้วน โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ม.ค. 56 และคาดว่าจะรองรับการตรวจวิเคราะห์ไดออกซินในทุกตัวอย่างสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มรูปแบบ และกำหนดค่ามาตรฐานไดออกซินของไทยได้ในปี 2558
การจะลดปริมาณสารไดออกซินให้ลดน้อยลงนั้นจะต้องมีมาตรการเข้ามาควบคุมซึ่งในประเทศไทยก็มีกฎหมายหรือมาตรการควบคุมสารไดออกซิน ในปัจจุบันได้กำหนดค่ามาตรฐานการปลดปล่อยสารไดออกซินออกมาแล้วถึง 4 ฉบับ คือ
(1). ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุม การปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ อากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากเตาเผา มูลฝอยติดเชื้อต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผา มูลฝอยติดเชื้อของสารประกอบไดออกซินซึ่งคำนวณผลในรูปของหน่วยความเข้มข้น เทียบเคียงความเป็นพิษต่อมนุษย์( PCDD/Fs as International Toxic Equivalent : I-TEQ) ไม่เกิน0.5นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร                                                          (2). ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบาย ออกจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545 กำหนดปริมาณสารไดออกซิน/ฟิวแรนที่ระบาย ออกจากเตา ต้องไม่เกิน0.5นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร                  (3). ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย จากเตาเผามูลฝอย ต้องมีค่าการปล่อยทิ้งสารประกอบ ไดออกซิน(Dioxin as TotalChlorinatedPCDD plus PCDF) ไม่เกิน30นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
(4). ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย จากโรงงานปูนซีเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็น วัตถุดิบในการผลิต กำหนดอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจาก หม้อเผาปูนของโรงงานต้องมีสารประกอบไดออกซิน ไม่เกิน0.5 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร I-TEQ
การควบคุมลดปริมาณสารไดออกซินไม่ได้มีมาตรการเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังเป็นข้อสัญญาระหว่างประเทศซึ่งหลายประเทศได้เข้าร่วมอนุสัญญาเพื่อเป็นมาตรการลดและเลิกการปลดปล่อยสาร โดยอนุสัญญาที่กล่าวมานี้เรียกว่า “อนุสัญญาสตอกโฮล์ม” ว่าด้วยสารพิษตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs) มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมจากสารพิษที่ตกค้างยาวนาน(สารPOPs) โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับคณะกรรมการรัฐบาลว่าด้วย ความปลอดภัยของสารเคมีโดยมีประเทศที่ร่วมลงนาม 152 ประเทศ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน ในอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2548 และปัจจุบันประเทศที่ให้สัตยาบันแล้ว 17 ประเทศ โดยอนุสัญญาสตอกโฮล์ม  กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องกำหนดเป้าหมายในการลดและเลิกการปลดปล่อยและการใช้สาร POPs ทันที ที่อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้การผลิตและสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตามประเภทที่กำหนดนั้น ประเทศที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาแล้วจะต้องถูกห้ามใช้ผลิต โดยทันทีมีการจำกัดการผลิตและ การใช้สารกลุ่มดังกล่าวและเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ดำเนินการเพื่อลดการปลดปล่อย สารมลพิษในกลุ่ม POPs เช่น สารฆ่าแมลง ไดออกซิน ฟิวแรน เฮกซะคลอโรเบนซีน และสารพีซีบี จากกระบวนการเผาไหม้กำหนดให้มีแผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์ม และจำกัดการนำเข้า การส่งออกสาร POPs และจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร เป็นต้น

จากการกำเนิดสารไดออกซินนั้นเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรม จากธรรมชาติ จากบ้านเรือนและการเกษตร ซึ่งการเผาจะมีการแพร่กระจายไปในวงกว้างซึ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันทางโรงงานอุตสาหกรรมได้มีมาตรการกฎหมายมาควบคุมการลดสารไดออกซินให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยประกาศเป็นกฎกระทรวง แต่ปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้คือ จากประชาชนจากการเผาในที่โล่ง ทำให้เกิดมลพิษทางด้านอากาศและมลพิษนี้มีสารเคมีที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ คือ ไดออกซิน ดังนั้น ประชาชนจึงควรลดการเผาในที่โล่งและหาแนวในการลดการเผาในที่โล่งซึ่งทำได้ง่ายๆ เช่น การปลูกพืชแบบที่ไม่ต้องการไถหรือไม่เผา เช่น พืชตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่มรายได้และเพิ่มธาตุอาหารในดิน  ,การไถกลบตอซัง/ขุดหลุมฝัง ,การผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์และการคัดแยกขยะในครัวเรือน ขยะบางประเภทสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เละสามารถขายเพื่อเพิ่มรายได้ ถ้าเราสามารถลดขยะได้จากต้นทางและลดการเผาขยะในที่โล่งได้สารไดออกซินที่อันตรายก็ลดลงไปและสุขภาพร่างกายของประชาชนก็ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สถาบันไดออกซินแห่งชาติ http://www.pcd.go.th/info_serv/haz_dioxin.html กรมควบคุมมลพิษhttp://excellenthealthgoodth.blogspot.com/2011/09/blog-post_5625.html

20 กันยายน 2559

: วัดกับสิ่งแวดล้อม



      คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธกับวัดมีความผูกพันกันมาช้านาน จะเห็นได้จากการไปทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ถือศีลปฏิบัติธรรม งานอุปสมบท หรืองานฌาปนกิจ เป็นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของ    ชาวพุทธ หากวัดมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น พระสงฆ์มีสุขภาพอนามัยที่ดี ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม  อันดีงามแล้ว ก็เชื่อได้ว่า จะเป็นที่เลื่อมใสก็จะทำให้มีประชาชนหันหน้ามาเข้าวัดมากขึ้น
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในวัดจึงมีความสำคัญยิ่ง แต่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมที่นิยมความสะดวกสบายและรวดเร็วจึงทำให้วิถีการทำบุญเปลี่ยนแปลงไป เรานิยมถวายอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารถุง ถวายเครื่องสังฆทานแบบถังสำเร็จรูปที่บรรจุของไม่มีคุณภาพ หรือแม้แต่ค่านิยมที่ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้พวงหรีดดอกไม้สดที่ยากต่อการกำจัดและไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้  รวมทั้งการจุดธูปที่มีส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้นั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นมิติใหม่ในการพัฒนาให้สิ่งแวดล้อมในวัดและเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพอนามัยของพระสงฆ์ สามเณร และประชาชนทั่วไป

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในวัดเราควรเริ่มต้นจากวัดควรมีการกำหนดพื้นที่ของวัดให้เป็นสัดส่วนทั้งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งก่อสร้างภายในวัด เช่น ศาลาการเปรียญ, ทางเดิน, โรงครัว, ห้องสุขา ฯลฯ เพราะจะทำให้สามารถควบคุมสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้ อีกทั้งยังเป็นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้อีกทางหนึ่ง และนอกจากนี้แล้วในวัดควรมีการดูแลต้นไม้ใหญ่เพื่อให้เกิดความร่มรื่น โดยเฉพาะต้นไม้ที่แสดงความสำคัญของพุทธศาสนาเช่น ต้นสาละ ต้นโพธิ์ ฯลฯ มีการจัดสถานที่ให้สวยงาม ปลูกพืชสมุนไพร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในวัด มีการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยกันลดมลพิษต่างๆ เช่น เรื่องการจัดการขยะ ควรจัดให้มีถังขยะแบบแยกประเภท มีกิจกรรมลดปริมาณขยะ เช่น แยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก การติดตั้งถังดักไขมันในโรงครัวของวัดก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพราะจะช่วยลดปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ  มาตรการลดการจุดธูปเทียนในการประกอบพิธีทางศาสนา ด้วยการใช้ธูปก้านสั้น หรือธูปเทียนไฟฟ้า เนื่องจากการจุดธูปเทียนก่อให้เกิดพิษภัยต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้พวงหรีดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เช่น เปลี่ยนจากพวงหรีดดอกไม้สดเป็นพวงหรีดต้นไม้, พัดลม ,ช้อน, ผ้าห่ม, นาฬิกา เป็นต้น การเลือกเครื่องสังฆทาน ควรเป็นสังฆทานที่มีประโยชน์ มีคุณภาพ และเป็นสังฆทานที่แยกของกินของใช้ออกจากกัน รวมไปถึงการส่งเสริมให้วัดเป็นเขตปลอดอบายมุข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เขตปลอดยาเสพติดทุกชนิด  ความปลอดภัยต่างๆ ภายในวัดก็มีความสำคัญ วัดควรมีมาตรการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ มีการตรวจสอบอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง  และปัญหาที่น่ากังวลคือสุนัข แมว ที่มีอยู่ในวัดซึ่งบางวัดเป็นของญาติโยมที่นำมาปล่อย ซึ่งทางวัดจำเป็นต้องเลี้ยงไว้ หากเป็นเช่นนี้วัดควรมีการกำหนดสถานที่ หรือกรงของสัตว์เลี้ยงแยกต่างหาก ไม่นำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงในอาคาร และควรมีการดูแล รักษาความสะอาด กรง ภาชนะใส่อาหาร การรับวัคซีนตามกำหนดเวลา รวมถึงการทำหมันเพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนของสัตว์เหล่านั้น นอกจากนี้ควรมีการเทศนาสอดแทรกเพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักให้แก่       ศาสนิกชนในเรื่องการจัดการมลพิษ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านช่องทางต่างๆ เป็นต้น 


                                                   



สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในวัด นั่นคือจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนโดยวัดควรมีกิจกรรมต่างๆ มีการจัดตั้งคนในชุมชนเข้ามาเป็นคณะทำงานในการพัฒนาวัด มีการร่วมคิด...ร่วมวางแผน...ร่วมดำเนินการ... เพื่อพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาของชุมชนตามแนวทาง บ้าน... วัด... โรงเรียน (บวร) เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นที่อบรมสั่งสอนทั้งในเรื่องศีลธรรมและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม เป็นดีแก่ศาสนิกชนต่อไป


---------------------------------------------------------------------------- 
ที่มา เอกสารเผยแพร่ โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
       กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

: ทำเนียบผู้รู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออก


: การทำน้ำหมักจุลินทรีย์


: ธนาคารขยะรีไซเคิล


: หลักการคัดแยกขยะมูลฝอย


13 กันยายน 2559

: คอนโดปูไข่(Crab condominium) : “ภูมิปัญญาไทยอนุรักษ์ทะเลไทย”


: มารู้จัก GIS กันเถอะ (ตอนที่ 2)


: ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียแบบ UASB เบื้องต้น ตอนที่ 2


: วันรับรองระบบงานโลก เรื่อง “การรับรองระบบงาน การส่งเสริมอาหารปลอดภัยและน้ำดื่มสะอาด”


: ความปลอดภัยในห้องปฏิฺบัติการ


: การควบคุมคุณภาพการเก็บตัวอย่างน้ำในภาคสนาม


: แนวทางการจัดการมลพิษจากอุตสาหกรรมชุมชนและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก


: Green Procurementการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว


: อีกครั้ง..กับความสำเร็จในการขยายขอบข่ายการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ


: รู้จัก “สึนามิ” ภัยพิบัติทางธรรมชาติ


: มลพิษทางอากาศ