ลุ่มน้ำและชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ
อรสา
นิลประกอบกุล
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)
ประเทศไทยแบ่งลุ่มน้ำ
(Watershed) ออกเป็น 9 กลุ่ม ลุ่มน้ำ 25
ลุ่มน้ำหลัก และ 254 ลุ่มน้ำสาขา โดยใช้สันปันน้ำทั้งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นเส้นแบ่ง
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การบริหารจัดการน้ำ
ซึ่งพื้นที่ในระบบเขตการปกครอง (ตำบล อำเภอ จังหวัด) ไม่สามารถแบ่งน้ำได้ ส่วนชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ แบ่งพื้นที่ออกเป็น
5 พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ โดยกำหนดจากปัจจัยด้านกายภาพซึ่งมีผลต่อกระบวนการทางอุทกวิทยา
และมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก 6 ประการ คือ สภาพภูมิประเทศ
ระดับความลาดชัน ความสูงจากระดับน้ำทะเล
ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะทางปฐพีวิทยา และสภาพป่าไม้ที่เหลืออยู่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง
ๆ (การใช้ประโยชน์ที่ดิน) และควบคุมการไหลของน้ำภายใน ลุ่มน้ำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในพื้นที่ภาคตะวันออก 6 จังหวัด
ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว เขตรับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13
(ชลบุรี) อยู่ในพื้นที่ 3 กลุ่มลุ่มน้ำ 4
ลุ่มน้ำหลักและ
14 ลุ่มน้ำสาขา รายละเอียดดังตาราง
รหัสลุ่มน้ำหลัก
|
ชื่อลุ่มน้ำหลัก
|
รหัสลุ่มน้ำสาขา
|
ชื่อลุ่มน้ำสาขา
|
พื้นที่
(ตร.กม.)
|
ร้อยละ
|
พื้นที่เกาะ
(ตร.กม.)
|
ร้อยละ
|
15
|
แม่น้ำปราจีนบุรี
|
1502
1503
|
คลองพระสทึง
แม่น้ำพระปรง
|
2 ,639.99
2 ,699.94
|
27.29
27.91
|
-
-
|
-
-
|
16
|
แม่น้ำบางปะกง
|
1603
1604
1605
|
คลองท่าลาด
คลองหลวง
ที่ราบแม่น้ำบางปะกง
|
2 ,930.22
825.20
5 ,171.90
|
27.38
7.71
48.33
|
-
-
-
|
-
-
-
|
17
|
โตนเลสาป
|
1701
1702
1703
|
โตนเลสาปตอนบน
(ลุ่มน้ำสาขา)
ห้วยพรมโหด
โตนเลสาปตอนล่าง
|
1 ,613.74
932.93
1 ,539.25
|
39.50
22.83
37.67
|
-
-
-
|
-
-
-
|
18
|
ชายฝั่งทะเลตะวันออก
|
1801
1802
1803
1804
1805
1806
|
ชายฝั่งทะเลตะวันออก
(ลุ่มน้ำสาขา)
แม่น้ำเมืองตราด
แม่น้ำจันทบุรี
คลองโตนด
แม่น้ำประแสร์
คลองใหญ่
|
4 ,416.62
1 ,558.69
1 ,593.59
1 ,656.42
2 ,137.75
1 ,729.98
|
33.73
11.90
12.17
12.65
16.33
13.21
|
404.46
-
-
-
-
-
|
100.00
-
-
-
-
-
|
ในส่วนของชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ได้ถูกกำหนดขึ้นเป็น 5
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ซึ่งในลุ่มน้ำชั้นที่ 1
จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้นย่อย โดยมีมาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นต่างๆ
ดังนี้
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ
- ห้ามเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบอื่นอย่างเด็ดชาด
- ระงับการอนุญาตทำไม้โดยเด็ดขาด
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบำรุงรักษาป่าธรรมชาติที่มีอยู่ ส่วนบริเวณใดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า
หรือป่าเสื่อมโทรม ให้ดำเนินการปลูกป่าทดแทน
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 บี
- พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนสภาพ
หรือพัฒนาเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ นั้น ต้องดำเนินการวางแผนการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ
- พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการพัฒนาในรูปแบบใด
ๆ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปลูกป่า อย่างรีบด่วน
- ในกรณีการสร้างถนนหรือการทำเหมืองแร่
หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการจะต้องควบคุม การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ้นในบริเวณโครงการ
- ส่วนราชการที่มีความจำเป็นต้องใช้ที่ดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2
- การอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมป่าไม้และเหมืองแร่ต่อไปได้
จะต้องมีการควบคุมการใช้ที่ดิน
อย่างเข้มงวด
- หลีกเลี่ยงการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมทางด้านเกษตรกรรม
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปลูกป่าในบริเวณที่ถูกทำลาย
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3
- การใช้พื้นที่ในกิจการต่างๆ
จะต้องควบคุมให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์ดินและน้ำ
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4
- การใช้พื้นที่เพื่อกิจการใด
ๆ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการโดยเคร่งครัด
- การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
จะต้องวางแผนให้เป็นไปตามมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 5
- อนุญาตให้ใช้เพื่อดำเนินกิจการใด
ๆ ได้ตามปกติ
- ในกรณีใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรสูง
โดยสรุปคือ
ระบบลุ่มน้ำ เน้นการจัดการน้ำ ส่วนชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เน้นเขตการใช้ประโยชน์ ของทรัพยากรที่เหมาะสมภายในพื้นที่ลุ่มน้ำ
เมื่อนำระบบลุ่มน้ำ และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำมาวิเคราะห์เชิงพื้นที่ร่วมกันจึงเป็นวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบขอบเขตการปกครอง
เพราะระบบลุ่มน้ำให้มิติความชัดเจนในเรื่อง ปริมาณ คุณภาพ และช่วงเวลาการไหลที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ที่มา
: แผนที่มาตรฐานการแบ่งลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขาของประเทศไทย
สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม