12 เมษายน 2560

: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564)

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แผนแม่บท อพ.สธ.
ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564)
-------------------------------------------------------
นางอรสา  นิลประกอบกุล
                นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ
 เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริกับ เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้ดำเนินการ อพ.สธ. โดยมอบหมายให้ฝ่ายวิชาการ โครงการส่วนพระองค์ เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อใช้ในการดำเนินงานของ อพ.สธ. ได้แก่ การจัดสร้างธนาคารพืชพรรณ ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ด สารพันธุกรรม (DNA) และเนื้อเยื่อพืช (plant tissue culture) และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานในทุกกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรม ของ อพ.สธ. เรื่อยมาจนกระทั่งปีงบประมาณ 2549 สำนักพระราชวังจึงจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงาน อพ.สธ. ต่อไป ในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักพระราชวัง
 นับตั้งแต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริในการดำเนินงาน อพ.สธ. ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 และพระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นลำดับถึงปัจจุบัน อพ.สธ. ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 อพ.สธ. แบ่งหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกเป็นระดับหน่วยงานที่ขอพระราชทานพระราชานุญาตเข้าร่วมสนองพระราชดำริ               ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริทั้งภาครัฐและเอกชน โดยพระราชานุญาตมากกว่า 150 หน่วยงาน กลุ่มที่สองเป็นสถานศึกษาในประเทศ สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมากกว่า 2,500 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และองค์การบริหารส่วนตำบล สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นมากกว่า 500 แห่ง ซึ่งมีผลการดำเนินงานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน โดยดำเนินงานในกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรม ภายใต้ 3 กรอบการดำเนินงาน ระยะ   ละ 5 ปี โดยทำงานครอบคลุมทั้งทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยสรุปดังนี้
 1. กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
     กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช

 2. กรอบการใช้ประโยชน์
     กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช
 3. กรอบการสร้างจิตสำนึก
     กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
           แผนแม่บท อพ. สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นแผนแม่บท                  ที่จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานตามแนวทางพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ                    สยามบรมราชกุมารี โดยมีหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีแนวทางดำเนินงานต่อเนื่องตามกรอบแผนแม่บทโดยเน้นการทำงานเข้าไปสร้างจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรตั้งแต่ในสถานศึกษา ดำเนินงานในระดับท้องถิ่นในการทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย 3 ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา จากฐานข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศไทย
           แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ.2559 – กันยายน พ.ศ. 2564) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมสนองพระราชดำริ โดยพระราชานุญาต จัดอยู่ในกลุ่มที่ 7 (G7) กลุ่มนโยบายในเรื่องของทรัพยากร ที่มีแผนแม่บทภายใต้ 2 กรอบการใช้ประโยชน์ และ 2 กิจกรรม ดังนี้
 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร (กรอบการใช้ประโยชน์)
 - การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรไม้กลายเป็นหิน (ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และวัฒนธรรมและภูมิปัญญา)
 กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร (กรอบการสร้างจิตสำนึก)
- กำหนดนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองพระราชดำริ อพ.สธ.
- การบริหารจัดการพื้นที่วนอุทยานไม้กลายเป็นหิน จังหวัดตาก
- การจัดทำเว็บไซต์ อพ.สธ. – สป.ทส.
- การจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. ทุก 2 ปี

-----------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
1. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ                    สยามบรมราชกุมารี แผนแม่บท (อพ.สธ.) ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564)
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ                  สยามบรมราชกุมารี แผนแม่บท (อพ.สธ.) ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564)                     แผนแม่บทของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ
3. แนวทางการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงาน ตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก                       (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564)

4. www.rspg.or.th

11 เมษายน 2560

: การจัดการเครื่องมือวัดในระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕

การจัดการเครื่องมือวัดในระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕


โดย นางสาวยุพิน  รัตนะแพร
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

               การจัดการเครื่องมือวัดในระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕  เป็นวิธีการที่สามารถยืนยันได้ว่าเครื่องมือวัดที่ห้องปฏิบัติการใช้งานมีคุณลักษณะเป็นไปตามเกณฑ์ที่ต้องการหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น ๖ ส่วนสำคัญดังนี้
             ๑. หน่วยพื้นฐาน (SI Units ; International System of Units) มี ๗ หน่วย
                 ๑.๑  kg   : หน่วยของมวล (กิโลกรัม)
                 ๑.๒  A    : หน่วยของปริมาณกระแสไฟฟ้า (แอมแปร์)
                 ๑.๓  s     : หน่วยของระยะเวลา (วินาที)
                 ๑.๔  K    : หน่วยของอุณหภูมิ (เคลวิน)
                 ๑.๕  mol : หน่วยของปริมาณสาร (โมล)
                 ๑.๖  cd   : หน่วยของความเข้มแห่งการส่องสว่าง (แคนเดอร่า)
                 ๑.๗  m   : หน่วยของระยะทาง (เมตร)
             ระบบหน่วยวัด ระบบเมตริกได้รับการปรับปรุงเป็นระยะๆ ที่ได้รับการยอมรับและเข้าใจตรงกันทั่วโลก
             ๒. มาตรวิทยา (Metrology) คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับการวัดที่ถูกต้องแม่นยำ มีการสอบกลับได้สู่มาตรฐานการวัดสากล ทั้งนี้ครอบคลุมข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕ ดังนี้
             เรื่องวิธีการวัด (measurement method),เรื่องความคลาดเคลื่อนของการวัด (Error),เรื่องควา
ไม่แน่นอนในการวัด (Uncertainty),เรื่องเครื่องมือในการวัด (Equipment),เรื่องการสอบย้อนกลับได้สู่มาตรฐานสากล (Tracebility),เรื่องเปรียบเทียบการวัด (Comparability)
             ๓. คำศัพท์ทางมาตรวิทยา ที่เครื่องมือวัดจะต้องมี ประกอบด้วย
                 ๓.๑  Accuracy of a measuring : ความถูกต้องของการวัด
                 ๓.๒  span : ช่วงวัด ขนาดความแตกต่าง ระหว่างขีดจำกัดของพิสัยที่ระบุของเครื่องมือวัด
                 ๓.๓  nominal value : ค่าระบุ (ลักษณะของอุปกรณ์) ให้ไว้เป็นแนวทางในการใช้อุปกรณ์
                 ๓.๔  specified measuring rang : พิสัยการวัดที่บ่งบอกไว้
                 ๓.๕  resolution of a display : ความละเอียดของอุปกรณ์ที่แสดงผลหรือความแตกต่างที่เล็กที่สุดระหว่างค่าบ่งชี้ที่ถูกแสดงผลที่สามารถถูกทำให้เห็นความแตกต่างได้อย่างมีความหมาย มี ๒ แบบคือ analog และ digital
                 ๓.๖  Hystersis : ปรากฏการณ์ไม่ซ้ำรอยเดิม เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือวัด ซึ่งผลตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่กำหนดให้ขึ้นอยู่กับลำดับของสิ่งเร้าที่มาก่อน เช่น ควรวัดในเครื่องชั่ง ๔ – ๕ ตำแหน่ง
                 ๓.๗  Stability : เสถียรภาพ คุณสมบัติของเครื่องมือวัดโดยที่สมบัติเชิงมาตรวิทยาของเครื่องมือยังคงตัวในเวลายาวนาน
                 ๓.๘  drift : การลอยเลื่อน เป็นการแปรผันอย่างช้าๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัด โดยทำการบันทึกค่าอย่างน้อย ๕ ครั้งขึ้นไป
                 ๓.๙  Error : ความคลาดเคลื่อน เป็นผลของการวัดลบด้วยค่าจริงของปริมาณที่ถูกวัด หรือ
Error = Measured Value – True Value
             ๔. การสอบเทียบ (Calibration)
                 หมายถึง ชุดของการดำเนินการทางมาตรวิทยาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าชี้บอกโดยเครื่องวัด หรือ ระบบการวัด หรือค่าที่แสดงโดยเครื่องวัดที่เป็นวัสดุ กับค่าสมนัยที่รู้ของปริมาณที่วัดภายใต้ภาวะที่บ่งไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการทดสอบ ๔ – ๕ ซ้ำ ทั้งนี้เมื่อห้องปฏิบัติการทดสอบได้รับใบรายงานผลการสอบเทียบของเครื่องมือวัดมาแล้ว ต้องนำมาทำการทวนสอบใบรายงานผลการสอบเทียบเพื่อให้ทราบค่า โดยมีวิธีคิด ดังนี้
                 ๔.๑  ทำการคำนวณหาค่า Error + U และนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
                 ๔.๒  ทำการคำนวณหาค่า | Error | + U และนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
                 ๔.๓  กรณีใบรายงานผลการสอบเทียบให้ค่าแก้ (Correction) มา ต้องทำการคำนวณ ดังนี้
                       ๔.๓.๑ หาค่า Error โดยใส่เครื่องหมายตรงกันข้ามกับ ค่า Correction
                       ๔.๓.๒ ใส่ | Er| ของค่า Error
                       ๔.๓.๓ นำไปบวกกับค่า Uncertainty
                       ๔.๓.๔ นำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
             ๕. การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕
                 ห้องปฏิบัติการต้องจัดให้มีเครื่องมือในการวัดและการทดสอบโดยต้องมีเครื่องมือพร้อม      เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง และเครื่องมือวัดนอกการควบคุมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งต้องจัดให้มีการสอบเทียบที่เพียงพอ โดยการทำเป็นโปรแกรมสอบเทียบเครื่องมือประจำปี การทำการทวนสอบซอฟแวร์ บุคลากรที่ใช้เครื่องมือต้องมีการอบรมรับรองความสามารถของบุคลากร แสดงผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือและมีการจัดทำ log book (แบบฟอร์มแสดงการทำงาน) การจัดทำประวัติเครื่องมือ ประวัติบำรุงรักษาของเครื่องมือ ประวัติการซ่อมบำรุงของเครื่องมือแต่ละเครื่อง และเครื่องมือไม่ควรมีการใช้งานเกินกำลัง พร้อมกับติดป้าย แสดงวันเดือนปีที่ทำการสอบเทียบและ due date ต้องมีการควบคุมการนำเครื่องมือนำออกนอกพื้นที่ การตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check) และเครื่องมือต้องสามารถสอบกลับได้ไปยังหน่วยวัด SI Unit
             ๖. การนำความรู้ที่ได้เพื่อการกำหนดรายการสอบเทียบเครื่องมือวัด
                 ๖.๑  ให้ทำการตรวจสอบผลการสอบเทียบ และพิจารณาจะยืดหรือหด ระยะเวลาครบอายุการสอบเทียบในครั้งต่อไป
                 ๖.๒  การใช้ Control Chart มาทำนายแนวโน้ม
                 ๖.๓  กำหนดเวลาตามปฏิทิน
                ๖.๔  การคิดข้อมูลปริมาณการใช้งานเป็นชั่วโมงของเครื่องมือ    

---------------------------------------------  

เอกสารอ้างอิง

การจัดการเครื่องมือในระบบ ISO/IEC ๑๗๐๒๕ , สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ     กรมวิทยาศาสตร์บริการ