31 สิงหาคม 2560

: "การประกันคุณภาพผลวิเคราะห์ทดสอบทางเคมี ห้องปฏิบัติการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)"

                                                                           
"การประกันคุณภาพผลวิเคราะห์ทดสอบทางเคมี ห้องปฏิบัติการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)"                                                                                                                  


โดย นางสาวอรวรรณ  ใจบุญ
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม

      “คุณแนใจได้อย่างไรว่า ผลการวิเคราะหทดสอบของคุณถูกตอง?” เปนคําถามที่ผูวิเคระหทดสอบ คงเคยไดยินกันอยูเสมอๆ สําหรับผูวิเคราะหทดสอบแลวการทําใหผลการวิเคราะห์ทดสอบมีความถูกตอง และน่าเชื่อถือ ถือเป็นหนาที่และความรับผิดชอบ ดังนั้น การประกันคุณภาพผลการวิเคราะห์ทดสอบ จึงเปนปจจัยสําคัญที่จะทำให้ผู้วิเคราะหทดสอบมีความมั่นใจในผลการวิเคราะหทดสอบมากยิ่งขึ้น
      การประกันคุณภาพผลการทดสอบทางเคมี คือ แผนและการดำเนินการอย่างมีระบบที่จำเป็นให้ได้มาซึ่งความเชื่อมั่นที่เพียงพอว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นไปตามข้อกำหนดด้านคุณภาพ และตามข้อกำหนดของ ISO/IEC17025 กำหนดในหัวข้อ 5.9 เรื่องการประกันคุณภาพผลการทดสอบ/สอบเทียบ โดยมีองค์ประกอบของการประกันคุณภาพการทดสอบประกอบไปด้วย การควบคุมคุณภาพ (Quality Control: QC) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment: QA) ซึ่งมีความสำคัญในแง่ของความแม่นและความเที่ยงของผลการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับทางด้านกฎหมาย การดำเนินคดี อ้างอิง ฟ้องร้อง เป็นต้น
1.  การควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC)
เป็นระบบของการวิเคราะห์ ที่ทําให้เกิดความเชื่อมั่นในผลการวิเคราะห์ว่ามีความถูกต้อง แม่นยํา และเป็นไปตามวิธีที่กําหนด ซึ่งแบ่งจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การควบคุมคุณภาพภายในและการควบคุมคุณภาพภายนอก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
    1.1 การควบคุมคุณภาพภายใน เป็นการดำเนินงานควบคุมคุณภาพโดยห้องปฏิบัติการ ในการเฝ้าระวังการทดสอบและผลการทดสอบ ให้น่าเชื่อถือก่อนออกรายงานผลการทดสอบ และเป็นการเฝ้าระวังสมรรถนะการทดสอบแบบ day-to-day, batch-to-batch ซึ่งสามารถเลือกใช้วิธีที่เกี่ยวข้องต่างๆ กี่ข้อก็ได้แต่ต้องครอบคลุมการควบคุมคุณภาพทั้ง 3 ด้าน คือ ความแม่น ความเที่ยง และการปนเปื้อน ซึ่งสามารถเลือกได้จากวิธีต่างๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของวิธีทดสอบ ธรรมชาติของตัวอย่าง หรือความเข้มข้นของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ ได้ดังนี้
          1.1.1   การวิเคราะห์ Independent Reference Material (IRM)
                   หมายถึง : การใช้วัสดุอ้างอิง Reference Material (RM) หรือ วัสดุอ้างอิงรับรอง Certified Reference Material (CRM) เพื่อทวนสอบวิธีทดสอบ โดยใช้ความเข้มข้นใกล้เคียงกับตัวอย่าง
                   ความถี่ : อย่างน้อยเดือนละครั้งหรือทุกครั้งที่ทำการทดสอบ
                   เกณฑ์การยอมรับ : %accuracy ±10% ของค่าจริง (true value) หรือใช้ t-test
                   %accuracy = ค่าที่วัดได้ x 100           
                                           ค่าจริง                                     
          1.1.2   การตรวจสอบสมรรถนะ (performance) ของเครื่องมือ โดยดูจาก linear range
                   สร้างกราฟมาตรฐานโดยใช้ Standard 3 – 5 ความเข้มข้น พิสูจน์ linear range จากค่า r หรือ R2
                   เกณฑ์การยอมรับ : r ³ 0.995, R2 = ³ 0.990
                   การรายงานผล ไม่ควรเกินจุดสูงสุดของกราฟมาตรฐาน ซึ่งการตรวจสอบสมรรถนะของเครื่องมือทำได้ในจำพวกเครื่องมือประเภท UV- Vis Spectrometerและเครื่องวิเคราะห์โลหะหนัก ICP-OES เป็นต้น
          1.1.3   การวิเคราะห์สารมาตรฐานที่มาจากแหล่งที่ต่างกัน
                   CVS (Calibration Verification Standard) อาจเรียกว่า calibration check หรือ IRM ก็ได้ คือสารมาตรฐานที่มาจากแหล่งที่ต่างกัน หรือรุ่นการผลิต (batch) ที่ต่างกัน หรือผู้ผลิต (supplier) ที่ต่างกันกับสารมาตรฐานที่ใช้สร้างกราฟมาตรฐาน เพื่อเป็นการทวนสอบความถูกต้องของกราฟมาตรฐาน
                   ความถี่ : ทุก 10-20 ตัวอย่าง หรือทดสอบระหว่างตัวอย่างแต่ละชุด
                   ความเข้มข้น : ใช้ความเข้มข้นเดียวที่ความเข้มข้นใกล้จุดกึ่งกลางของ calibration range
                   เกณฑ์การยอมรับ : %accuracy ±10% ของค่าจริง (true value)
          1.1.4   การวิเคราะห์ reagent blank, field blank
                    Blank คือ วัตถุที่ไม่มีสารที่ต้องการวิเคราะห์ การทำ blank เพื่อให้แน่ใจว่าสัญญาณทั้งหมดเป็นของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ ไม่ใช้จาก reagent ที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือการปนเปื้อนจากเครื่องแก้วและสารเคมี blank แบ่งเป็น
                   1) Calibration blank หรือ Instrument blank คือ แบลงค์ที่ใช้สำหรับทดสอบหรือปรับศูนย์ของเครื่องมือ เช่น เมทานอลหรือน้ำกลั่น เป็นต้น
                   2) Method หรือ Reagent blank คือ แบลงค์ที่ได้จากการเตรียมเหมือนกับการเตรียมตัวอย่างแต่ใช้ตัวทำละลายแทนตัวอย่าง
                   ความถี่: ทุก 10-20% ของจำนวนตัวอย่างในแต่ละชุดตัวอย่าง (batch) แต่ถ้าเราวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีความเข้มข้นสูง ต้องวิเคราะห์ blank ตามทันที เพื่อป้องกันการ carry over
                   เกณฑ์ยอมรับ : ค่า Blank น้อยกว่า MDL ถือว่ายอมรับได้ หรือ Blank มากกว่า MDL แต่ผลการทดสอบมากกว่า LOQ ก็ยอมรับได้เช่นกัน แต่ควรตรวจสอบว่ามีสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ (Analyte) ปะปนกับ blank หรือไม่ ดังนั้นต้องมีการระบุค่า MDL, LOQ ไว้ในวิธีทดสอบด้วย
                   3) Field blank เหมือนกับ reagent blank แต่นำออกจากห้องปฏิบัติการไปยังบริเวณที่มีการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม ถ่ายใส่ขวดตัวอย่าง แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการเหมือนกับตัวอย่าง ใช้เมื่อมีการเก็บตัวอย่าง แล้วมีการขนย้าย ถ่ายเท และสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน
          1.1.5   การวิเคราะห์ Matrix spiked sample ที่ความเข้มข้นต่างๆ ตลอดช่วงใช้งาน
                   คือการเติมสารมาตรฐานความเข้มข้นสูงๆ แต่ปริมาณน้อยๆ ลงในตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบ analyte recovery หรือตรวจสอบผลการรบกวนจาก matrix ของตัวอย่าง โดยสารมาตรฐานที่นำมา spiked ควรมาจากคนละแหล่งกับที่ใช้เตรียม calibration curve และความเข้มข้นของ spiked sample ควรอยู่ในช่วงเดียวกับตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ ทั้งนี้ผูวิเคราะหทดสอบควรแนใจวาสิ่งที่เติมลงไปมีคุณสมบัติทางเคมี เหมือนตัวอย่างและรวมตัวเปนเนื้อเดียวกับตัวอยาง
                   ความถี่ : ทุก 10-20% ของจำนวนตัวอย่างในแต่ละชุดตัวอย่าง (batch)
                   เกณฑ์การยอมรับ : เกณฑ์การยอมรับของห้องปฏิบัติการ คือ 80-115 %  
          1.1.6   การวิเคราะห์ซ้ำ (Duplicate) ในตัวอย่างเดียวกัน
                   ความถี่ : ทุก 10-20% ของจำนวนตัวอย่างในแต่ละชุดตัวอย่าง (batch)
                   เกณฑ์การยอมรับ : จาก %RPD ไม่เกิน 10% ขึ้นกับระดับความเข้มข้นของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์   ในกรณีที่ตัวอย่างมีค่าน้อยมากหรือตรวจไม่พบ อาจใช้วิธี Matrix spiked duplicate หรือทำซ้ำใน spiked sample ซึ่งสามารถหาได้ทั้งความแม่นและความเที่ยงได้ในเวลาเดียวกัน
               โดยห้องปฏิบัติการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ได้นำหลักการการควบคุมคุณภาพนี้ไปใช้ควบคุมคุณภาพในทุกๆ พารามิเตอร์ที่วิเคราะห์ทดสอบ เพื่อให้เกิดการเชื่อมั่นในผลการทดสอบ ยกตัวอย่างการควบคุมคุณภาพเฉพาะเทคนิคของห้องปฏิบัติการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) เช่น
·       การวิเคราะห์หาโลหะหนักในน้ำผิวดินโดยใช้ Inductively Couple Plasma-Optical Emission Spectrometer (ICP-OES) มีวิธีการควบคุมคุณภาพดังนี้
1. ตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือ (Performance check) โดยวัดค่า intensity ของ 1 ppm Mn โดยกำหนดเกณฑ์การยอมรับค่า Intensity ของ Mn ต้องมีค่ามากกว่า 200,000 เพื่อตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ ทั้งนี้ เกณฑ์การยอมรับขึ้นอยู่กับสภาพและอายุของเครื่องมือนั้นๆ ด้วย
2. การทำ Initial calibration ต้องวัด blank ก่อน แล้ววัดค่าของสารมาตรฐานที่ใช้สำหรับสร้างกราฟมาตรฐาน โดยใช้ค่าความเข้มข้นอย่างน้อย 5 ค่า ซึ่งอยู่ในช่วง linear range กำหนดค่า r > 0.997
3. วัดค่า CVS ใช้สารมาตรฐานที่ความเข้มข้นใกล้จุดกึ่งกลางของกราฟมาตรฐาน โดยใช้สารมาตรฐานที่มาจากแหล่งที่แตกต่างจากสารมาตรฐานที่ใช้สร้างกราฟมาตรฐาน โดยวัดในตอนเริ่มต้น, ทุกๆ 10-20 ตัวอย่าง และสุดท้ายของการวัด ค่าที่วัดได้ต้องไม่เกิน ±10% ของค่าจริ
4. วิเคราะห์ QC Sample วัดในตอนเริ่มต้นก่อนการวิเคราะห์ตัวอย่าง และทำทุกๆ 10-20 ตัวอย่าง
5. การวิเคราะห์ซ้ำ (Duplicate) ในตัวอย่างเดียวกัน กำหนดค่า %RPD ±10% และทำทุกๆ 10-20 ตัวอย่าง
6. การวิเคราะห์ spiked sample เกณฑ์การยอมรับ %recovery ขึ้นกับความเข้มข้นของตัวอย่างและทำทุกๆ 10-20 ตัวอย่าง
7. การวิเคราะห์ method blank เกณฑ์การยอมรับ <MDL
·       การวิเคราะห์หาค่าไนเตรท ไนไตร์ท และฟอสฟอรัส โดยใช้ UV-Vis Spectrophotometer มีวิธีการควบคุมคุณภาพดังนี้
1. ตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือ (Performance check) จากค่า D2PEAK เพื่อดูความเบี่ยงเบนจากค่าที่กำหนดไว้ เกณฑ์การยอมรับ 656.1 ± 0.1 nm เพื่อตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ
2. Calibration curve โดยสร้างจากสารมาตรฐานที่ความเข้มข้น 5 - 7 ความเข้มข้น ซึ่งอยู่ในช่วง linear range กำหนดค่า r > 0.997
3. วัดค่า CVS ใช้สารมาตรฐานที่ความเข้มข้นใกล้จุดกึ่งกลางของกราฟมาตรฐาน โดยใช้สารมาตรฐานที่มาจากแหล่งที่แตกต่างจากสารมาตรฐานที่ใช้สร้างกราฟมาตรฐาน โดยวัดในตอนเริ่มต้น, ทุกๆ 10-20 ตัวอย่าง และสุดท้ายของการวัด ค่าที่วัดได้ต้องไม่เกิน ±10% ของค่าจริ
4. การวิเคราะห์ method blank เกณฑ์การยอมรับ <MDL
5. การวิเคราะห์ซ้ำ (Duplicate) ในตัวอย่างเดียวกัน กำหนดค่า %RPD ±10%
6. การวิเคราะห์ spiked sample เกณฑ์การยอมรับ %recovery ขึ้นกับความเข้มข้นของตัวอย่าง


    1.2 การควบคุมคุณภาพภายนอก เป็นการควบคุมคุณภาพผลการวิเคราะห์จากภายนอกเพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลการวิเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการ ได้แก่
          1.2.1 การทำ Inter Laboratory Comparison คือ การประเมินความสามารถและการประเมินผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการสอง ห้องปฏิบัติการหรือมากกว่า ในการวัดตัวอย่างเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว
          1.2.2 การเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing; PT) คือการเข้าร่วมการการทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการจากหน่วยงานที่ให้บริการทดสอบความชำนาญ เช่น กรมวิทยาศาสตร์บริการโดยการสุ่มตัวอย่างจากแหล่งหนึ่งๆ และส่งให้ห้องปฏิบัติการดําเนินการทดสอบในเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวจะต้องมีความ เป็นเนื้อเดียวกัน และมีความเสถียรตลอดช่วงเวลาของการดําเนินกิจกรรม ซึ่งห้องปฏิบัติการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ได้เข้าร่วมกิจกรรม PT ในพารามิเตอร์ต่างๆ กับศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ มาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

2. การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) เป็นกิจกรรมการประเมินทั้งระบบเพื่อยืนยันคุณภาพของข้อมูล (data quality) จากกิจกรรมการควบคุมคุณภาพว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามที่กำหนด และต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามระบบคุณภาพ เพื่อนำข้อมูลจากการประเมินไปใช้ในการเพื่อพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพห้องปฏิบัติการต่อไป
ดังนั้น เมื่อนำข้อมูลของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) มาทำการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) ว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ จึงจะถือได้ว่าเป็นการประกันคุณภาพผลการวิเคราะห์ทดสอบของห้องปฏิบัติการโดยสมบูรณ์ โดยห้องปฏิบัติการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ได้นำหลักการประกันคุณภาพผลการทดสอบตามข้อกำหนด ISO/IEC17025 ข้อ 5.9 เรื่องการประกันคุณภาพผลการทดสอบนี้มาใช้ควบคุมคุณภาพผลการทดสอบกับทุกพารามิเตอร์ที่ให้บริการ ไม่เพียงเฉพาะแต่พารามิเตอร์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เท่านั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการทดสอบที่มีความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการควบคุม เฝ้าระวัง และติดตามตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

 ส่วนวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม/จัดทำ

        

30 พฤษภาคม 2560

: “การลดการปลดปล่อยสารไดออกซินและฟิวแรนจากการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลในโรงไฟฟ้าและหม้อน้ำอุตสาหกรรม โดยการประยุกต์ใช้แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด”

“การลดการปลดปล่อยสารไดออกซินและฟิวแรนจากการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลในโรงไฟฟ้าและหม้อน้ำอุตสาหกรรม โดยการประยุกต์ใช้แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด”

ปรานี โอรักษ์
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๓ (ชลบุรี)

-------------------------------------------------------------------------------------------

Ø แหล่งกำเนิดมลพิษ : โรงไฟฟ้าและหม้อน้ำอุตสาหกรรม


 การผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน มีแหล่งกำเนิดพลังงานที่สำคัญจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงซึ่งมีหม้อน้ำ (boiler) เป็นปัจจัยหลักในการผลิต ผลจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงทำให้มีการปลดปล่อยสารมลพิษต่างๆ สู่บรรยากาศ ซึ่งรวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซ CO2 ในบรรยากาศ ปัจจุบันจึงได้มีการส่งเสริมให้มีการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างไรก็ตามพบว่า การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลมีการปลดปล่อยสารไดออกซิน/ฟิวแรนสูงกว่าเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน และถ่านหิน ถึง 20 เท่า และ 5 เท่า ตามลำดับ (UNEP,2009)

Ø สารไดออกซิน/ฟิวแรน



สารไดออกซิน/ฟิวแรน (Polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs/Polychlorinated dibenzo furans: PCDFs) เป็นผลพลอยได้ (by-products) ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ สารไดออกซิน/ฟิวแรน เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง และสามารถสะสมได้ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และจัดเป็นสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ ภายใต้อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs)
ในการนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ภายใต้พันธกรณีของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ จึงได้ส่งเสริมให้มีการประเทศภาคีสมาชิก ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคที่ดีที่สุดและแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Available Techniques and Best Environmental Practices : BAT/BEP) มาใช้ประยุกต์ใช้เพื่อลดหรือเลิกการปลดปล่อยสารไดออกซิน/ฟิวแรนจากแหล่งกำเนิดดังกล่าว ทั้งนี้ แนวทางด้าน BAT/BEP เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตของหม้อน้ำสามารถทำได้โดยทั่วไป มีดังนี้
Ø แนวทางเทคนิคที่ดีที่สุดและแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด เพื่อลดการปลดปล่อยสารไดออกซิน/ฟิวแรนจากการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล
1.    แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BEP) : การปรับปรุง/ฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของหม้อน้ำ 
(1)    การจัดเตรียมเชื้อเพลิง  จัดเก็บเชื้อเพลิงชีวมวลในที่แห้งเพื่อป้องกันความชื้นที่เกิดจากการย่อยสลาย และควรแยกหิน ดินหรือสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ และบดเชื้อเพลิงให้มีขนาดเล็ก ก่อนป้อนเข้าหม้อน้ำ
(2)    การควบคุมสภาวะการเผาไหม้ ควรติดตามตรวจสอบสภาวะการเผาไหม้ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ อาทิ การควบคุมอุณหภูมิ (>900°C) เวลาในการเผาไหม้ (>1 วินาที) ความแปรปรวน (สูง) และปริมาณออกซิเจนส่วนเกิน (ร้อยละ 3 สำหรับเชื้อเพลิงเหลว และ ร้อยละ 6 สำหรับเชื้อเพลิงแข็ง) หรือเดินเครื่องและรักษาระดับให้เป็นไปตามที่ได้ออกแบบไว้
(3)    การนำพลังงานความร้อนที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ (waste heat recovery systems) อาทิ การนำน้ำหล่อเย็นป้อนเข้าสู่หม้อน้ำ เพื่อลดอัตราการป้อนเชื้อเพลิง ทั้งนี้ อุณหภูมิน้ำที่เพิ่มขึ้น 6 °C จะช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงลงได้ร้อยละ 1
2.    แนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) : การใช้หม้อน้ำที่มีระบบการเผาไหม้แบบ Fluidized Bed Combustion (FBC)
FBC เป็นระบบการเผาไหม้ที่เชื้อเพลิงถูกบดให้มีขนาดเล็กมาก แล้วพ่นเข้าไปในเตาเผาพร้อมอากาศ โดยเชื้อเพลิงที่พ่นเข้าไปจะแขวนลอยอยู่ในคลื่นอากาศร้อน และมีลักษณะคล้ายของเหลวเดือด จึงเรียกว่า “Fluidized” ข้อดีของหม้อน้ำชนิดนี้ คือใช้ได้กับเชื้อเพลิงหลายประเภท มีการกระจายตัวที่ดีระหว่างเชื้อเพลิงและอากาศร้อนทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์โดย มีประสิทธิภาพในการเผาไหม้เชื้อเพลิงสูงมากกว่าร้อยละ 95 จึงมีอัตราการป้อนเชื้อเพลิงต่ำ นำไปสู่การลดการปลดปล่อยสารมลพิษ
                                           


เอกสารอ้างอิง  :
UNIDO. Annex 8 Economic Valuation Associated to Reduction of Dioxins and Co2 in Industrial and Power Boilers in The ESEA Region. Proceedings of Regional Workshop on BAT and BEP in Fossil Fuel-Fired Utility and Industrial Boilers in Response to Stockholm Convention on (POPs) Conference, March 16-18, 2009, Bangkok.Thailand, 2009.

12 เมษายน 2560

: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564)

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แผนแม่บท อพ.สธ.
ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564)
-------------------------------------------------------
นางอรสา  นิลประกอบกุล
                นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ
 เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริกับ เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้ดำเนินการ อพ.สธ. โดยมอบหมายให้ฝ่ายวิชาการ โครงการส่วนพระองค์ เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อใช้ในการดำเนินงานของ อพ.สธ. ได้แก่ การจัดสร้างธนาคารพืชพรรณ ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ด สารพันธุกรรม (DNA) และเนื้อเยื่อพืช (plant tissue culture) และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานในทุกกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรม ของ อพ.สธ. เรื่อยมาจนกระทั่งปีงบประมาณ 2549 สำนักพระราชวังจึงจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงาน อพ.สธ. ต่อไป ในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักพระราชวัง
 นับตั้งแต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริในการดำเนินงาน อพ.สธ. ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 และพระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นลำดับถึงปัจจุบัน อพ.สธ. ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 อพ.สธ. แบ่งหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกเป็นระดับหน่วยงานที่ขอพระราชทานพระราชานุญาตเข้าร่วมสนองพระราชดำริ               ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริทั้งภาครัฐและเอกชน โดยพระราชานุญาตมากกว่า 150 หน่วยงาน กลุ่มที่สองเป็นสถานศึกษาในประเทศ สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมากกว่า 2,500 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และองค์การบริหารส่วนตำบล สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นมากกว่า 500 แห่ง ซึ่งมีผลการดำเนินงานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน โดยดำเนินงานในกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรม ภายใต้ 3 กรอบการดำเนินงาน ระยะ   ละ 5 ปี โดยทำงานครอบคลุมทั้งทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยสรุปดังนี้
 1. กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
     กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช

 2. กรอบการใช้ประโยชน์
     กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช
 3. กรอบการสร้างจิตสำนึก
     กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
     กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
           แผนแม่บท อพ. สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นแผนแม่บท                  ที่จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานตามแนวทางพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ                    สยามบรมราชกุมารี โดยมีหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีแนวทางดำเนินงานต่อเนื่องตามกรอบแผนแม่บทโดยเน้นการทำงานเข้าไปสร้างจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรตั้งแต่ในสถานศึกษา ดำเนินงานในระดับท้องถิ่นในการทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย 3 ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา จากฐานข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศไทย
           แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ.2559 – กันยายน พ.ศ. 2564) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมสนองพระราชดำริ โดยพระราชานุญาต จัดอยู่ในกลุ่มที่ 7 (G7) กลุ่มนโยบายในเรื่องของทรัพยากร ที่มีแผนแม่บทภายใต้ 2 กรอบการใช้ประโยชน์ และ 2 กิจกรรม ดังนี้
 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร (กรอบการใช้ประโยชน์)
 - การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรไม้กลายเป็นหิน (ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และวัฒนธรรมและภูมิปัญญา)
 กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร (กรอบการสร้างจิตสำนึก)
- กำหนดนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองพระราชดำริ อพ.สธ.
- การบริหารจัดการพื้นที่วนอุทยานไม้กลายเป็นหิน จังหวัดตาก
- การจัดทำเว็บไซต์ อพ.สธ. – สป.ทส.
- การจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. ทุก 2 ปี

-----------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
1. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ                    สยามบรมราชกุมารี แผนแม่บท (อพ.สธ.) ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564)
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ                  สยามบรมราชกุมารี แผนแม่บท (อพ.สธ.) ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559 – กันยายน พ.ศ. 2564)                     แผนแม่บทของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ
3. แนวทางการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงาน ตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก                       (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564)

4. www.rspg.or.th

11 เมษายน 2560

: การจัดการเครื่องมือวัดในระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕

การจัดการเครื่องมือวัดในระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕


โดย นางสาวยุพิน  รัตนะแพร
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

               การจัดการเครื่องมือวัดในระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕  เป็นวิธีการที่สามารถยืนยันได้ว่าเครื่องมือวัดที่ห้องปฏิบัติการใช้งานมีคุณลักษณะเป็นไปตามเกณฑ์ที่ต้องการหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น ๖ ส่วนสำคัญดังนี้
             ๑. หน่วยพื้นฐาน (SI Units ; International System of Units) มี ๗ หน่วย
                 ๑.๑  kg   : หน่วยของมวล (กิโลกรัม)
                 ๑.๒  A    : หน่วยของปริมาณกระแสไฟฟ้า (แอมแปร์)
                 ๑.๓  s     : หน่วยของระยะเวลา (วินาที)
                 ๑.๔  K    : หน่วยของอุณหภูมิ (เคลวิน)
                 ๑.๕  mol : หน่วยของปริมาณสาร (โมล)
                 ๑.๖  cd   : หน่วยของความเข้มแห่งการส่องสว่าง (แคนเดอร่า)
                 ๑.๗  m   : หน่วยของระยะทาง (เมตร)
             ระบบหน่วยวัด ระบบเมตริกได้รับการปรับปรุงเป็นระยะๆ ที่ได้รับการยอมรับและเข้าใจตรงกันทั่วโลก
             ๒. มาตรวิทยา (Metrology) คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับการวัดที่ถูกต้องแม่นยำ มีการสอบกลับได้สู่มาตรฐานการวัดสากล ทั้งนี้ครอบคลุมข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕ ดังนี้
             เรื่องวิธีการวัด (measurement method),เรื่องความคลาดเคลื่อนของการวัด (Error),เรื่องควา
ไม่แน่นอนในการวัด (Uncertainty),เรื่องเครื่องมือในการวัด (Equipment),เรื่องการสอบย้อนกลับได้สู่มาตรฐานสากล (Tracebility),เรื่องเปรียบเทียบการวัด (Comparability)
             ๓. คำศัพท์ทางมาตรวิทยา ที่เครื่องมือวัดจะต้องมี ประกอบด้วย
                 ๓.๑  Accuracy of a measuring : ความถูกต้องของการวัด
                 ๓.๒  span : ช่วงวัด ขนาดความแตกต่าง ระหว่างขีดจำกัดของพิสัยที่ระบุของเครื่องมือวัด
                 ๓.๓  nominal value : ค่าระบุ (ลักษณะของอุปกรณ์) ให้ไว้เป็นแนวทางในการใช้อุปกรณ์
                 ๓.๔  specified measuring rang : พิสัยการวัดที่บ่งบอกไว้
                 ๓.๕  resolution of a display : ความละเอียดของอุปกรณ์ที่แสดงผลหรือความแตกต่างที่เล็กที่สุดระหว่างค่าบ่งชี้ที่ถูกแสดงผลที่สามารถถูกทำให้เห็นความแตกต่างได้อย่างมีความหมาย มี ๒ แบบคือ analog และ digital
                 ๓.๖  Hystersis : ปรากฏการณ์ไม่ซ้ำรอยเดิม เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือวัด ซึ่งผลตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่กำหนดให้ขึ้นอยู่กับลำดับของสิ่งเร้าที่มาก่อน เช่น ควรวัดในเครื่องชั่ง ๔ – ๕ ตำแหน่ง
                 ๓.๗  Stability : เสถียรภาพ คุณสมบัติของเครื่องมือวัดโดยที่สมบัติเชิงมาตรวิทยาของเครื่องมือยังคงตัวในเวลายาวนาน
                 ๓.๘  drift : การลอยเลื่อน เป็นการแปรผันอย่างช้าๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัด โดยทำการบันทึกค่าอย่างน้อย ๕ ครั้งขึ้นไป
                 ๓.๙  Error : ความคลาดเคลื่อน เป็นผลของการวัดลบด้วยค่าจริงของปริมาณที่ถูกวัด หรือ
Error = Measured Value – True Value
             ๔. การสอบเทียบ (Calibration)
                 หมายถึง ชุดของการดำเนินการทางมาตรวิทยาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าชี้บอกโดยเครื่องวัด หรือ ระบบการวัด หรือค่าที่แสดงโดยเครื่องวัดที่เป็นวัสดุ กับค่าสมนัยที่รู้ของปริมาณที่วัดภายใต้ภาวะที่บ่งไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการทดสอบ ๔ – ๕ ซ้ำ ทั้งนี้เมื่อห้องปฏิบัติการทดสอบได้รับใบรายงานผลการสอบเทียบของเครื่องมือวัดมาแล้ว ต้องนำมาทำการทวนสอบใบรายงานผลการสอบเทียบเพื่อให้ทราบค่า โดยมีวิธีคิด ดังนี้
                 ๔.๑  ทำการคำนวณหาค่า Error + U และนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
                 ๔.๒  ทำการคำนวณหาค่า | Error | + U และนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
                 ๔.๓  กรณีใบรายงานผลการสอบเทียบให้ค่าแก้ (Correction) มา ต้องทำการคำนวณ ดังนี้
                       ๔.๓.๑ หาค่า Error โดยใส่เครื่องหมายตรงกันข้ามกับ ค่า Correction
                       ๔.๓.๒ ใส่ | Er| ของค่า Error
                       ๔.๓.๓ นำไปบวกกับค่า Uncertainty
                       ๔.๓.๔ นำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
             ๕. การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕
                 ห้องปฏิบัติการต้องจัดให้มีเครื่องมือในการวัดและการทดสอบโดยต้องมีเครื่องมือพร้อม      เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง และเครื่องมือวัดนอกการควบคุมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งต้องจัดให้มีการสอบเทียบที่เพียงพอ โดยการทำเป็นโปรแกรมสอบเทียบเครื่องมือประจำปี การทำการทวนสอบซอฟแวร์ บุคลากรที่ใช้เครื่องมือต้องมีการอบรมรับรองความสามารถของบุคลากร แสดงผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือและมีการจัดทำ log book (แบบฟอร์มแสดงการทำงาน) การจัดทำประวัติเครื่องมือ ประวัติบำรุงรักษาของเครื่องมือ ประวัติการซ่อมบำรุงของเครื่องมือแต่ละเครื่อง และเครื่องมือไม่ควรมีการใช้งานเกินกำลัง พร้อมกับติดป้าย แสดงวันเดือนปีที่ทำการสอบเทียบและ due date ต้องมีการควบคุมการนำเครื่องมือนำออกนอกพื้นที่ การตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check) และเครื่องมือต้องสามารถสอบกลับได้ไปยังหน่วยวัด SI Unit
             ๖. การนำความรู้ที่ได้เพื่อการกำหนดรายการสอบเทียบเครื่องมือวัด
                 ๖.๑  ให้ทำการตรวจสอบผลการสอบเทียบ และพิจารณาจะยืดหรือหด ระยะเวลาครบอายุการสอบเทียบในครั้งต่อไป
                 ๖.๒  การใช้ Control Chart มาทำนายแนวโน้ม
                 ๖.๓  กำหนดเวลาตามปฏิทิน
                ๖.๔  การคิดข้อมูลปริมาณการใช้งานเป็นชั่วโมงของเครื่องมือ    

---------------------------------------------  

เอกสารอ้างอิง

การจัดการเครื่องมือในระบบ ISO/IEC ๑๗๐๒๕ , สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ     กรมวิทยาศาสตร์บริการ

24 กุมภาพันธ์ 2560

: ร้านรับซื้อของเก่ากับสิ่งแวดล้อม



                 
        โดย นางลักษณา วีรธนาภรณ์ 
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ

“ในบรรดาธุรกิจที่ทำรายได้ให้กับผู้ประกอบการอย่างเป็นกอบเป็นกำ และเป็นที่จับตามองอีกหนึ่งธุรกิจคงต้องยกให้ "ธุรกิจรับซื้อของเก่า" แต่สิ่งที่ตามมาเป็นเงาตามตัวคือ ความเสี่ยงต่อการเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคต่างๆ ด้วยต้องมีการสะสมขยะหรือวัสดุเหลือใช้ไว้ภายในร้าน ซึ่งหากผู้ประกอบการขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการดูแลร้านให้เหมาะสม อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบกิจการและคนงาน รวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ข้างเคียงได้” 
ร้านรับชื้อของเก่า หมายถึง สถานประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 หรือสถาน ประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทที่ 13(5) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 5/2538 เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คำว่า ขยะ เรามักจะนึกถึงสิ่งปฏิกูล ของเสีย สิ่งของเหลือใช้หรือสิ่งที่เราไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งจำนวนขยะที่เกิดขึ้นมีจำนวนไม่น้อยและขยะส่วนใหญ่เป็นขยะที่สามารถนำกับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น จึงทำให้ขยะเหล่านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการจึงได้มีการคิดเกี่ยวกับการทำธุรกิจขึ้นมาคือ  “ร้านรับซื้อของเก่า” เพื่อซื้อขยะจากผู้ประกอบการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับซื้อ เก็บขน รวบรวมขยะจากบ้านเรือน ชุมชน ร้านค้า สถานประกอบการอื่นๆ เพื่อรอจำหน่ายและแปรรูปต่อไป
            ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ภาพลักษณ์บริเวณรับชื้อของเก่าอาจดูไม่สวยงามที่มีกองวัสดุและมีความสกปรกอยู่เป็นจำนวนมากและสถานที่ตั้งร้านรับซื้อของเก่าส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในชุมชนซึ่งมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น  ซึ่งลักษณะของกิจการรับซื้อของเก่าจะต้องมีการสะสมสิ่งของ อาทิเช่น แก้ว กระดาษ หรือโลหะบางชนิด ไว้ในร้านเป็นเวลานาน บวกกับการจัดการภายในสถานประกอบกิจการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงได้
(1) เหตุรำคาญ : จากการเก็บรวบรวมขยะที่ได้มา และมีการหมักหมมจึงทำให้ส่งกลิ่นรบกวนกระจายไปทั่วชุมชนและยังมีฝุ่นละอองที่เกิดจากการเก็บรวบรวมและการขนถ่ายขยะ
(2) น้ำเสีย : จากการล้างภาชนะอาจมีการไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองที่อยู่ใกล้เคียงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำหรืออาจเกิดขึ้นถึงขั้นรุนแรงทำให้แหล่งน้ำเป็นพิษสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
(3) แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค : เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ และหนู เป็นต้น เนื่องจากเป็นแหล่งเก็บรวบรวมขยะจึงทำให้มีขยะเหลือทิ้งค้างไว้เป็นแหล่งกำเนิดอาหารของสัตว์ต่างๆ ที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน
(4) ปัญหาเสียงดัง : เช่น การเคลื่อนย้ายสิ่งของภายในร้านหรือการแยกอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่สามารถนำไปเพิ่มมูลค่าได้
(5) เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ : ขยะที่เก็บรวบร่วมโดยขาดประสิทธิภาพโดยเฉพาะขยะที่เป็นอันตรายอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้ประกอบการเองและประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีแมลงวันเป็นพาหะ เป็นต้น
(6) อุบัติเหตุ : ที่เกิดจากการสัมผัสสิ่งของมีคม และการสัมผัสสารเคมีอันตรายที่มากับขยะ

ปฏิวัติ ร้านรับซื้อของเก่าสะอาดปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม
1. ปฏิบัติการ 5ส. เป็นวิธีการจัดการต่อสภาพแวดล้อมของร้านรับซื้อของเก่าและบริเวณโดยรอบร้านแบบง่ายๆ และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย โดยนำหลัก 5ส. มาใช้ ได้แก่
(1) สะสาง : ลดการสูญเปล่า เป็นการแยกของที่ไม่จำเป็นออก เช่น สำรวจวัสดุรีไซเคิลที่รับซื้อ แยกวัสดุที่เป็นรีไซเคิลออกจาก และกำจัดสิ่งที่ไม่ต้องการ
(2) สะดวก : เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป็นการจัดวางสิ่งของต่างๆให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน เช่น กำหนดประเภทของวัสดุ พื้นที่เก็บให้เป็นสัดส่วน และเขียนป้ายชื่อแสดงประเภทวัสดุ
(3) สะอาด : ตรวจสอบความผิดปกติ เป็นการทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) อุปกรณ์และสถานที่ทำงาน เช่น แบ่งขอบเขตการทำความสะอาด กำจัดสาเหตุที่เป็นบ่อเกิดของขยะและความสกปรก ตรวจเช็คเครื่องใช้อุปกรณ์ว่าทำความสะอาดแล้วหรือยังและต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลา
(4) สุขลักษณะ : รักษาข้อดี ของ 3ส.  คือ สะสาง สะอาด สุขลักษณะ เช่น เสียงต้องไม่ดัง แสงสว่างต้องเพียงพอ ต้องมีตะแกรงดักจับมูลฝอย เพื่อไม่ให้ขวางทางระบายน้ำ จัดสถานที่ให้เรียบร้อย พนักงานแต่งตัวถูกต้องและมีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
(5) สร้างนิสัย : รักษามาตรฐาน 4ส. เช่น มีการอบรมให้กับพนักงานเกี่ยวกับระเบียบและมาตรฐานและสร้างจนเป็นนิสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
 2. ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และแนวทางการป้องกันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากร้านรับชื้อของเก่า ดังนี้
(1)     ทำเลที่ตั้งจะต้องห่างจากที่พักอาศัยประมาณ 100 เมตร
(2)     ควรตั้งอยู่ห่างจากแหล่งน้ำหรือบ่อน้ำธรรมชาติประมาณ 300 เมตร
(3)     มีรั้วรอบสถานประกอบกิจการ
(4)     ทำผังแสดงส่วนต่างๆของร้านรับซื้อของเก่า
(5)     ลักษณะอาคารต้องมีหลังคาคลุม พื้นต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กป้องกันการท่วมขังของน้ำ
(6)     ต้องมีประตูทางเข้า-ออกที่พอกับจำนวนพนักงาน
(7)     จัดทำป้ายชื่อสถานประกอบกิจการ
(8)     พื้นตัวอาคารต้องจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
(9)     มีมาตรการป้องกันแสงสว่าง ฝุ่นละออง และเสียงดัง
(10)  จัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้อย่างเหมาะสม
(11) มีสัญญาณเตือนเพลิงไฟไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายกำหนด
(12)  เครื่องจักรต้องติดตั้งบนพื้นและฐานของเครื่องจักรที่รองรับไว้
(13)  จัดวางอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ไม่กีดขวางทางเดิน
(14)  จัดให้มีระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร


ดังนั้น ธุรกิจร้านรับซื้อของเก่าถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากผู้บริโภคและเป็นการแยกประเภทของขยะได้เป็นอย่างดีเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์หรือกำจัดได้ง่ายขึ้น การบริหารจัดการดูแลสถานประกอบกิจการต้องเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและอยู่ภายใต้ข้อกฎหมายกำหนด หากผู้ประกอบกิจการได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดร้านรับชื้อของเก่าก็จะกลายเป็นร้านรับชื้อของเก่าสีเขียวที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงได้น้อยที่สุด และอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยาวนาน